หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆของปั๊มหอยโข่งกันแล้ว (http://www.technopumps.net/Blog/ส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่ง___มีอะไรบ้าง-blog.aspx) เราจะเห็นได้ว่า "เพลา" เป็นส่วนประกอบที่เปรียบเสมือนแกนกลางของปั๊มในการรับพลังงานกลจากมอเตอร์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานขับเคลื่อนของปั๊มนั่นเอง แล้วมอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านี้มีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง? แต่ละชิ้นส่วนมีหน้าที่อย่างไร? มาอ่านไปพร้อมๆกันนะครับ

- 1. สเตเตอร์ (Stator) มีหน้าที่ในการสร้างสนามแม่เหล็กและการสนับสนุนทางกลต่างๆ ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของสเตเตอร์จะประกอบไปด้วย แกนสเตเตอร์ ขดลวดสเตเตอร์และเฟรม โดยขดลวดสเตเตอร์จะถูกฝังลงในแกนสเตียร์และสร้างแรงดึงดูดทางไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อกระแสไหลผ่านแกนสเตเตอร์เพื่อให้เกิดการแปลงพลังงานไฟฟ้า
-
- 2. โครงมอเตอร์ (Motor Frame) คือส่วนเปลือกหุ้มภายนอกของมอเตอร์ และยึดส่วนอยู่กับที่ (Stator) ของมอเตอร์ไว้ภายในร่วมกับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ โครงมอเตอร์ทำหน้าที่เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็กระหว่างขั้วแม่เหล็กให้เกิดสนามแม่เหล็กครบวงจร
-
- 3. อาร์เมเจอร์ (Armature) คือส่วนเคลื่อนที่ (Rotor) ถูกยึดติดกับเพลา (Shaft) และรองรับการหมุนด้วยที่รองรับการหมุน (Bearing) ตัวอาร์เมเจอร์ทำจากเหล็กแผ่นบางๆ อัดซ้อนกัน ถูกเซาะร่องออกเป็นส่วนๆ เพื่อไว้พันขดลวดอาร์เมเจอร์ (Armature Winding) ขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นขดลวดอาบน้ำยาฉนวน ร่องขดลวดอาร์เมเจอร์จะมีขดลวดพันอยู่และมีลิ่มไฟเบอร์อัดแน่นขึดขดลวดอาร์เมเจอร์ไว้ ปลายขดลวดอาร์เมเจอร์ต่อไว้กับคอมมิวเตเตอร์ อาร์เมอเจอร์ผลักดันของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ทำให้อาร์เมเจอร์หมุนเคลื่อนที่
-
- 4. คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) คือส่วนเคลื่อนที่อีกส่วนหนึ่ง ถูกยึดติดเข้ากับอาร์เมเจอร์และเพลาร่วมกัน คอมมิวเตเตอร์ทำจากแ่ท่งทองแดงแข็งประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงกระบอก แต่ละแท่งทองแดงของคอมมิวเตเตอร์ถูกแยกออกจากกันด้วยฉนวนไมก้า (Mica) อาร์เมเจอร์ คอมมิวเตเตอร์ทำหน้าที่เป็นขั้วรับแรงดันไฟตรงที่จ่ายมาจากแปรงถ่าน เพื่อส่งไปใ้ห้ขดลวดอาร์เมอร์
- 5. แปรงถ่าน (Brush) คือ ตัวสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผลิตมาจากคาร์บอนหรือแกรไฟต์ผสมผงทองแดง เพื่อให้แข็งและนำไฟฟ้าได้ดี มีสายตัวนำต่อร่วมกับแปรงถ่านเพื่อไปรับแรงดันไฟตรงที่จ่ายเข้ามา แปรงถ่านทำหน้าที่รับแรงดันไฟตรงจกแหล่งจ่าย จ่ายผ่านไปให้คอมมิวเตเตอร์